จะตั้งคำถามให้เป็นได้อย่างไร?

บันทึกไม่ลับ

5 months ago

จะตั้งคำถามให้เป็นได้อย่างไร?

how-to-ask-questions Designed by rawpixel.com / Freepik

เริ่มด้วย สัปดาห์ที่แล้ว อ่านแล้วไปสะดุดกับประเด็น “ตั้งคำถามอย่างไรเพื่อให้ได้คำตอบ” ของ Super Productive จึงเกิดข้อสงสัยว่าต้องทำอย่างไรจึงจะถามคำถามนั้นให้เป็น จำได้ว่าเรานั้นเคยอ่านหนังสือประเภทนี้ไว้ จึงเอาประเด็นนี้มาปัดฝุ่น ทบทวน เผื่อและเพื่อนำไปใช้กันซักหน่อย

หนังสือเล่มนี้ชื่อว่าอะไร? เล่มนี้ชื่อว่า

“พูดให้คนเข้าใจง่ายแบบนี้นี้เอง”

หนังสือพูดถึงกฏพื้นฐาน 5 ข้อ ที่จะนำไปสู่หลักการและเทคนิคต่างๆ ในการพูดให้เข้าใจง่าย แต่สำหรับวันนี้นั้น จะนำเทคนิค การพูดโน้มน้าวใจ ซึ่งนำไปสู่การตั้งถามให้เป็น มาทบทวน โดยสรุปได้เป็น 4 ข้อหลักที่จะช่วยให้ถามคำถามให้เป็น


4 ข้อหลักที่จะช่วยให้ถามคำถามให้เป็น

  1. หาคำถามด้วยคำถาม

    1. ถามตอบคำถามที่สงสัยซัก 8-9 คำถามเพื่อให้เราเข้าใจ และเคลียร์ประเด็นมากยิ่งขึ้น ให้เราเชื่อมั่นในความเห็นของเรา
    2. 5W1H -> เมื่อไร ที่ไหน ใคร อะไร ทำไมและอย่างไร เริ่มต้นด้วยคำถามจากง่ายไปหายาก ไม่เริ่มคำถามพวก "ทำไม" เริ่มแรกเพราะจะทำให้เราสะดุดได้
    3. เรียงการถามจาก ปัจจุบันไปสู่อนาคต
  2. จะตั้งคำถามดีๆ ได้อย่างไร

    1. ลองจับเวลาซัก 3 นาที เพื่อที่จะเขียนประเด็นปัญหากันโดย เขียนคำถามหัวข้อใหญ่เอาไว้ จากนั้นเขียนคำถาม คำตอบคำถามหัวข้อข้อใหญ่นั้น
    2. ให้มั่นใจว่า คำตอบตอบคำถามนั้นแล้ว หากไม่มั่นใจ ให้ตอบคำถามด้วยคำถามอีก เช่น เมื่อคุยกันไม่เข้าใจ แทนที่จะคิดว่า "จะพูดอะไรดี" หรือ "พูดยังไงดี" ให้ลองตรวจสอบตัวเองว่า "ตัวเองกำลังตอบคำถามแบบไหน" หรือ "พูดกับอีกฝ่ายด้วยพื้นฐานคำถามอะไร"
    3. ฝึกตั้งคำถามจากบทความ โดยหาบทความซักบท แล้วใช้คำถามถึงที่มาของบทความ
    4. ฝึกตั้งคำถาม 100 ข้อ ตามหัวข้อที่กำหนด
    5. ตั้งคำถามจากมุมมองเดียวกันไปจนหมด แล้วค่อยลองย้ายมุมมองไปแบบอื่น
    6. หากยากในการตั้งคำถาม 100 ข้อ ต้องหาวิธีขยายมุมมอง ในข้อถัดไป
  3. จะขยายมุมมองในการตั้งคำถามได้อย่างไร

    • จะขยายมุมมองด้วยแกน 3 แกนด้วยกัน

      1. แกนพื้นที่ เมื่อมุมมองคำถามแคบลง มองไปยังโลกภายนอก ลองหาคำถามที่ว่า มีเรื่องอะไรเกิดขึ้นกับสังคมและโลกบ้าง

        สิ่งรอบตัว -> สังคมที่ตัวเองอยู่ -> โลก

      2. แกนเวลา คาดการณ์อนาคตจากการเข้าใจภูมิหลัง

        อดีต -> ปัจจุบัน -> อนาคต

      3. แกนมนุษย์ ตั้งคำถามเกี่ยวกับตัวเอง คู่สนทนา และคนทั่วไปในแง่มุมต่างๆ ขุดค้นตัวเอง เช่น ตัวเองเป็นคนแบบไหน ชอบอะไร เกลียดอะไร มีความสุขตอนไหน
    • คิดคำถามที่เกี่ยวกับเรื่องไกลตัวหรื่อเรื่องใกล้ตัวปะปนกันไป
  4. เทคนิคการสื่อสารด้วยหลักเหตุผล

    • หลักเหตุผลด้วยการใช้ทักษะการคิด 3 ทักษะ

      1. ทักษะการแก้ปัญหา ความสามารถในการหาคำตอบ ลักษณะความสงสัยเหมือนกับนักสืบมีความสงสัย (เหมือนโคนันไง!)
      2. ทักษะวิเคราะห์รอบด้าน ตั้งคำถามจากมุมมองหลายแบบ ด้วยแกน 3 แกนในข้อที่ 3
      3. ทักษะคิดตามหลักและเหตุผล ลักษณะที่จะนำคำถามมาจัดเรียงให้เหมาะสม อาจเรียงตามเวลา ที่จะมี อดีต -> ปัจจุบัน -> อนาคตหรือเหมือนการเขียนเรียงความ ที่เริ่มต้นด้วย ปัญหา -> สาเหตุ -> วิธีแก้ไข/สรุป
    • วิธีรับมือคู่สนทนาที่มีความเชื่อไม่ตรงกัน
    • ให้เริ่มต้นด้วยคำถาม แทนที่จะบอกว่า “สิ่งนี้เป็นอย่างนี้” เปลี่ยนเป็น “สิ่งนี้เป็นอย่างไร” แทน
    • ฟังจับใจความ “ความเห็นกับเหตุผล” ของอีกฝ่าย

      • หากฟังแล้วไม่เข้าใจให้จับใจความ “ความเห็นกับเหตุผล”
      • อะไรคือสิ่งที่อีกฝ่ายอยากพูดมากที่สุด (ความเห็น)
      • อีกฝ่ายพูดแบบนั้นเพราะมีข้อสนับสนุนหรือเหตุผลอะไร (เหตุผล)
      • หากฟังแล้วยังจับใจความไม่ได้ ให้ลองทวนเรื่องที่ฟังไป ซัก 2-3 เรื่อง แล้วลองสรุปสิ่งที่เราเข้าใจ
    • พูดด้วยหลักเหตุผลด้วยการกำหนด “ข้อสรุป”

      • ข้อสรุปแรก คือประเด็นปัญหา ซึ่งประกอบไปด้วยเกณฑ์ 3 ข้อด้วยกัน

        1. จะเป็นคำถามที่อยากถาม
        2. คำถาม จะสามารถตอบได้ตามความรู้ ประสบการณ์ ของตนเอง
        3. คำถามที่ตอบสนอง ความต้องการของอีกฝ่าย
      • ข้อสรุปที่ 2 ความเห็น

        • ข้อจำกัดเรื่องเวลาเป็นตัวกำหนดปริมาณ “คำถาม” และ “ความเห็น” ไม่ควรใช้คำพูดที่คลุมเครือ จงใช้คำที่ชัดเจน
      • ข้อสรุปที่ 3 ข้อสนับสนุน

        • ข้อสนับสนุนจะหนุนความเห็นที่ได้เขียนไป
      • ข้อสรุปที่ 4 โครงสร้างคำพูด

        • หลักเลี่ยงคำขยาย
      • ข้อสรุปที่ 5ประธาน เวลา และจำนวนเงิน

        • จงระบุให้ชัดเจนเท่าที่จะระบุได้
        • ประธาน อย่าลืมที่จะใส่ประธานในการพูดแต่ละประโยค
        • เวลา จงระบุให้ชัด ไม่ควรถามว่า สะดวกเวลาไหน แต่ให้ถามเวลา สะดวกเวลา 4 โมงวันนี้ไหม แทนไปเลย
        • เงิน ระบุให้ชัดเช่นกัน หากคิดว่าไม่เหมาะที่จะถาม ให้ลองบอกเป็นเกณฑ์มาตราฐานแทนก็ได้

สรุปในสรุป 4 ข้อหลักที่จะช่วยให้ถามคำถามให้เป็น

  1. หาคำถามด้วยคำถาม หากคำถามยังไม่เคลียร์ลองถามคำถามซ้ำไปเรื่อยๆ เขาว่ากันว่า คำตอบที่ดีจะได้จากคำถามในข้อที่ 9
  2. จะตั้งคำถามดีๆ ได้จะต้องฝึกตามคำถามให้ได้ซัก 100 ข้อต่อหนึ่งประเด็น
  3. ทำอย่างไรนึกคำถามไม่ออก? ลองขยายมุมมองคำถามตามหลัก 3 แกน (1) พื้นที่ (2)เวลา (3)ผู้คน
  4. ลองใช้หลักเหตุผลที่ประกอบไปด้วย การแก้ปัญหา การวิเคราะห์รอบด้าน และการเรียงลำดับ ในการถาม

ทั้งหมดเป็นบันทึกที่ได้จากการอ่าน ประโยคที่ถูกใจของหนังสือเล่มนี้ ซึ่งบางอย่างอาจมีการตีความไปแล้วบ้าง และตัดๆบางบทไปเพื่อฝึกฝนทักษะอ่านจับใจความของตัวเอง ขับออกมาให้ดีเท่าที่ตัวเองทำได้และสร้างนิสัยให้กับตัวเอง

หากไม่เข้าใจ อะไรอย่างไรติชมได้นะเพื่อที่จะปรับปรุงในครั้งหน้า

หวังว่าจะได้รับประโยชน์จากการอ่านครั้งนี้ครับ :)

บลู
บันทึกไม่ลับของบลู
Loading...
thanaporn nuwilai

Thanaporn Nuhwilai Full Stack developer, work of servers, databases, systems engineering, and clients. Depending on the project, what customers need may be a mobile stack or a Web application stack.