หนังสือ Money101
บันทึกไม่ลับ
MONEY101
ตั้งแต่เข้ามหาลัยมาความรู้ทางการเงินก็ไกลตัวขึ้นเรื่อยๆ พอจบเลยรู้สึกว่าการเงินอยู่ไกลตัวเราขึ้นไปอีก แต่เริ่มจำเป็นต้องเข้าใจมัน
ถึงแม้ว่าการเงินไกลตัวฉัน แต่เงินก็ยังเป็นสิ่งที่เราใช้ทุกวัน
วันนี้เลยหยิบยกสรุปหนังสือ Money101 มาให้เพื่อนๆอ่านกัน
MONEY101: เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข
-
การเงินง่ายเมื่อเข้าใจชีิวิต
- ทำไมเราถึงอยากมีเงินเยอะๆ หาคำตอบมันแล้วเราจะได้เป้าหมาย เมื่อเจอเป้าหมายก็จะเข้าใจและพร้อมที่จะเรียนรู้และลงมือทำเพื่อเป้าหมายนั้น
-
สองคำคัพท์สำคัญในโลกของการเงิน
- สภาพคล่อง คือสามารถมีเงินเหลือเก็บพอ 10% (20% ได้ก็ดี) ต่อเดือน
- ความมั่นคง เกิดจาการที่เป็นคนที่มีสภาพคล่องที่ดีอย่างต่อเนื่อง
ทำอย่างไรให้มีสภาพคล่องที่ดี ?
- หักเงินเก็บไว้ก่อนแล้วค่อยจ่าย
- สะสมเหรียญ / ทริคแบงค์ 50 บาท
- ทุกอย่างที่ฟุ่มเฟือยหักเป็นเงินเก็บ 10 % (หักภาษีตัวเอง)
-
งบการเงินส่วนบุคคล
- ประกอบไปด้วย 2 งบการเงินย่อยๆ
-
งบรายรับ รายจ่าย
- เงินคงเหลือ = รายรับ - เงินออม - รายจ่าย
- ถ้ามีเงินคงเหลือก็ถือว่ามีสภาพคล่องทางการเงินดี
-
งบแสดงสถานะทางการเงิน/งบดุล
- ควรทำอย่างน้อยปีละครั้ง
- ทรัพท์สินสุทธิ (Net worth) = ทรัพย์สิน - หนี้สิน
- หากหักลบแล้ว ทรัพย์สินสุทธิเป็นบวกเยอะ ถือว่ามีสภานะทางการเงินที่ดี
-
เป้าแรกของการออม
- แบ่งออกเป็น 3 ตระกร้า
-
4.1
เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน
- ออมเงินเท่าไรถึงจะพอ แนะนำ 6-12 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน
- เก็บไว้ที่ไหน ? ฝากประจำหรือออมทรัพย์, สลากออมสินและสลากออมทรัพย์
- หากได้โบนัสหรือเงินรายได้อื่นออมไหม ? ก็ควรแบ่งไว้ออมเพื่อจะได้ถึงเป้าหมายการออมได้ไวขึ้น
- 4.2
เงินเกษียณรวย
เก็บไว้ยามเราเษียณ - 4.3
เงินเกษียณเร็ว
นำเงินไปสร้างกระแสเงินสดต่อ - ทั้งข้อ 2,3 ทำก็ต่อเมื่อมีเงินออมฉุกเฉินแล้ว
-
การไม่มีหนี้ (จน) คือลาภอันประเสริฐ
- เราเป็นหนี้จนหรือหนี้รวย ?
หนี้จน
คือหนี้ที่เกิดจากการกู้เงินมาใช้ก่อนและต้องมีภาระที่จะต้องจ่ายหนี้รวย
คือหนี้ที่กู้เหมือนกันแต่นำเงินไปต่อยอด และนำไปสร้างรายได้ผ่อนหนี้ที่ได้จากการกู้กลับมา เช่น กู้เงินมาซื้อบ้านเพื่อเปิดให้เช่า หากได้ค่าเช่ามากกว่าค่าผ่อนก็ถือว่าเป็นหนี้รวยนั่นเอง (ปล. การลงทุนมีความเสี่ยง)
-
ฝันอยากได้อะไรต้องมีแผน
- หากเราอยากได้อะไรไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ แม้กระทั่งบ้าน เราจะต้องคำนวณสภาพคล่องหลังจากการซื้อของพวกนี้เสียก่อน ซึ่งหากไม่ไหว อาจจะต้องเพิ่มเงินดาวน์เพื่อทำให้ผ่อนได้น้อยลง แต่ถ้าหากไม่ไหวก็ควรเลื่อนซื้อออกไป
- จะคำนวณอย่างไร? ตัวอย่างหากเป็นรถ เราจะต้องรู้ค่าใช้จ่ายทั้งหมด หลังจากซื้อรถ ไม่ใช่เพียงค่าผ่อนรถอย่างเดียว แต่เป็นพวกค่าน้ำมัน (รายเดือน) ค่าบำรุงรักษา ค่าประกันภัย (อย่างน้อยที่กฏหมายบังคับ) และภาษีรถยนต์ นำค่าทัั้งหมดมาหักลบกับรายได้หากไม่มีเงินเหลือ หรือเงินเหลือน้อยก็แสดงว่าสภาพคล่องเราไม่ดีหลังจากซื้อรถมา ฉะนั้นไม่ควรซื้อรถก่อน
-
วางแผนรับมือกับเรื่องร้ายๆ
การจัดการความเสี่ยงมี 2 แนวทาง
การป้องกัน
เน้นหลักเลี่ยงและลดโอกาส เช่น การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี-
การวางแผนการรับมือ
- รับความเสี่ยงไว้เอง เตรียมทุนไว้สำหรับเรื่องร้ายๆ
- โอนความเสี่ยง อาทิเช่น การทำประกัน
- ประกันชีวิต หากเราประสบเหตุโชคร้ายจะกระทบต่ออีกชีวิตจำเป็นต้องทำ
-
ประกันสุขภาพ สิทธิขั้นพื้นฐาน + ประกันสุขภาพเพิ่มเติม
- หลักในการเลือก รูปแบบการคุ้มครองและค่าใช้จ่าย, การระยะเวลาคุ้มครอง, ระยะเวลาที่ไม่สามารถเคลมสุขภาพได้ (ระยะเวลารอคอย)
-
บริหารภาษีให้เป็น
- มีความรู้เรื่องภาษีและเข้าใจมันเพื่อวางแผนจัดการ
-
วางแผนเกษียณรวย
ทยอยลงทุนระยะยาว/ลงทุนระยะยาว โดยใช้หลักการ 3 ข้อ
- คำนวณทุนเกษียรที่ต้องการ
- ประเมินแหล่งรายได้หลังเกษียร
- วางแผนออมและลงทุนเพิ่มเติมทุนเกษียณส่วนที่ขาด
-
ทำให้ชีวิตมีรายได้หลายทาง
เพราะการมีรายได้ทางเดียวมีความเสี่ยง ฉะนั้นเราควรมีงานเสริมแล้วงานเสริมหาจากไหนได้ละ ?
3 แนวทางในการสร้างอาชีพเสริม
-
- สร้างเป็นสินค้าขึ้นมาขาย
-
- สร้างเป็นบริการขึ้นมา
-
-
สร้างเป็นทรัพย์สินทางปัญญา
การวิเคราะห์โอกาสในการสร้างรายได้
-
- จากความรู้และทักษะที่มี ดูจากการศึกษาและการอบรมของเรา
- งาน งานอดิเรกหรือประสบการณ์ เพื่อค้นหาตลาดเราให้เจอ
- สายสัมพันธ์ที่นำไปสู่โอกาสทางธุรกิจ คิดจากตัวเองไม่ออก คิดจากผู้อื่นแทนแล้วหาทางเชื่อมโยง
- ไอเดียทางธุรกิจ (จากปัญหาที่พบ)
-
-
เรียนรู้การใช้พลังทวี
- ทำอย่างไรถ้าเราต้องการเงินมาลงทุนเพื่อให้เกิดผลสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว?
- คำตอบ เงินกู้, หุ้นส่วน และ out sourcing ให้คนที่ถนัดมาทำงานแทนเรา
- ทั้งหมดขึ้นอยู่กับ จังหวะเวลาของการใช้ รูปแบบ หรือโครงการลงทุน ข้อตกลงการใช้และรูปแบบการจัดตั้งธุรกิจ
-
หัดพิมพ์เงินใช้เอง
- ทำอย่างไรถึงเป็นอย่างนั้นได้ คำตอบคือ Passive Income ที่ทุกคนรู้จัก อาทิเช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า กำไร และค่าลิขสิทธิ์
- แต่ทำไมหลายคนถึงทำไม่ได้? เพราะไม่สามารถอดทนรอได้พอ
-
เพราะทำไมถึงอดทนรอไม่ได้? เพราะหนี้ หนี้และรายจ่ายทำให้เราไม่สามารถไปต่อได้ ฉะนั้น
จงสร้างทรัพย์สิน ก่อนซื้อหนี้สิน
-
วางแผนรวยก่อนเกษียณ
ต้องหาการลงทุนที่ดีพอที่จะมีรายได้จากทรัพย์สินมากกว่ารายจ่ายต่อเดือน
แล้วทำอย่างไร ?
- กำหนดรูปแบบชีวิต ซัก 5 ปีข้างหน้า
- ประมาณค่าใช้จ่ายรายเดือน
- ตั้งเป้าหมาย
- วางแผนสร้างทรัพย์สินและลงมือทำ
แค่เริ่มและลงมือทำ
-
ชีวิตคนเป็นผลของการ “เลือก”
- เราจะจัดการเงินอย่างไร? มีอยู่ 2 หลักด้วยกัน
-
"เลือก"
จ่ายให้กับตัวเองก่อน -> หักเงินออมเงินให้ตัวเองทุก 10% ของรายได้ที่ได้รับ
-
"เลือก"
จ่ายโดยยึดตามสภาพคล่อง
-
การเงินส่วนบุคคล
- คุณสมบัติ 3 ข้อ ที่คนประสบความสำเร็จทางการเงิน มักมีเหมือนกัน
-
- มีความรับผิดชอบ
-
- มีความรู้ทางการเงิน
-
- มีวินัยทางการเงิน
- หากทำได้จะสามารถทำให้เรามีสุขภาพทางการเงินที่ดี
- หากทุกคนสามารถจัดการการเงินของตัวเองได้กันหมด ครอบครัว สังคม ก็ย่อมส่งผลดีทางการเงินของประเทศด้วย นั่นแหละคือ
"การเงินส่วนบุคคล"
-
สุดท้าย หลักปฏิบัติ 6 ข้อเพื่อสุขภาพของเงินที่ดี by money coach
- สภาพคล่องดี
- ปลอดหนี้จน
- พร้อมชนความเสี่ยง
- มีเสบียงสำรอง
- สอดคล้องเกณฑ์ภาษี
- บั้นปลายมีทุนเกษียณ
สรุปในสรุป
การเงินเป็นเรื่องใกล้ตัวอย่างมากและควรเรียนรู้เอาไว้ หนึ่งอย่างที่หนังสือได้เขียนคือ การจะทำอะไรเราจะต้องมีสภาพคล่องที่ดีเสียก่อน และนั่นจะนำไปสู่ สุขภาพการเงินที่ดีในภายภาคหน้า อย่างที่หนังสือได้เขียนว่า
หาได้ ใช้เหลือ เผื่อออม และต่อยอดให้งอกเงย
ทั้งหมดเป็นบันทึกที่ได้จากการอ่าน ประโยคที่ถูกใจของหนังสือเล่มนี้ ซึ่งบางอย่างอาจมีการตีความไปแล้วบ้าง และตัดๆบางบทไปเพื่อฝึกฝนทักษะอ่านจับใจความของตัวเอง ขับออกมาให้ดีเท่าที่ตัวเองทำได้และสร้างนิสัยการอ่านให้กับตัวเอง
หากไม่เข้าใจ อะไรอย่างไรติชมได้นะเพื่อที่จะปรับปรุงในครั้งหน้า
หวังว่าจะได้รับประโยชน์จากการอ่านครั้งนี้ครับ :)