Penang Trip

lifestyle

4 months ago

Penang Trip

ทริปปีเก่าแต่เอามาเล่าปีใหม่ ไหนๆ ก็มี Blog แล้วเอามาเป็นที่เล่าประสบการณ์เก็บไว้หน่อยดีกว่า

มีอยู่ว่า แม่อยากไปเที่ยวช่วงปลายปี ทริปปีนังนี้จึงเกิดขึ้น วางแผนไม่ถึงเดือน จองที่พักให้ได้เป็นพอ

เอาละ เริ่มกันเลย!!

DAY1: เดินทางไปปีนัง

07:00 เริ่มแรกเราเดินทางด้วยการนั่งรถไปที่ปาดังเบซาร์ตั้งแต่เช้า จากนั้นก็ต่อรถไฟที่สถานีนี้ ประมาณ 8 โมงกว่าๆ รถไฟไทยก็มารับ ในความขำก็คือมันเป็นสถานีสุดท้ายของประเทศไทยเรา และไปที่สถานีที่มาเลเซียเลย ขึ้นรถไฟไม่ถึง 5 นาทีก็ลงละ…

09:00 แน่นอนหากเรามาในช่วงเทศกาลละก็ คงหนีไม่พ้นการเจอคนที่เยอะมากมาย พร้อมลงมาจากขบวนรถไฟ มารอคิวเพื่อตรวจ Passport อยู่แสนนานในตรงนี้

10:00 จุดพีทมันไม่มีแค่นั้น เนื่องจากช้ากับการรอตรวจ Passport เราได้ขึ้นไปเพื่อซื้อตั๋ว และพอลงมาที่ชาญชลา รถไฟไป B’worth นั้นก็ได้ไปแล้วละ (ไม่ทัน TT)

ปรับ Timezone Hour +1

แต่พึ่งมารู้ทีหลังว่าตั๋วนี้ ซื้อแล้วขึ้นตอนไหนก็ได้ แต่นั่นก็คือต้องรออีกครั้งนึงปรากฏว่ารอไปจนถึง 12.25 นั่นก็คือเราต้องรอประมาณ 1 ชม.กว่าๆไปเลย

แค่ข้ามประเทศเห็นความแตกต่างของระบบขนส่งอย่างชัดเจนมาก รถไฟถ้าเล่าให้เห็นภาพคือประมาณ รถไฟฟ้า BTS บ้านเราเลย แค่บ้านเขาคือเป็น รถไฟฟ้าวิ่งข้ามจังหวัด (เท่านั้นเอ๊งงง)

15:30 เดินทางมาประมาณ 2 ชม. และพักกินข้าวกันไป เราก็ขึ้นเรือ Ferry ไปปีนังกันต่อ

ความ Surpise ถัดไปคือที่นี้ทุกอย่างคือเขาทำอย่างที่เขียนนะ รถไฟฟ้าออก 12.25 หรือเรือออก 15.30 นี่คือไปจริงๆ (อ่อที่จริงมันก็ควรเป็นอย่างนั้นนะ…)

16:00 และแล้วก็ถึงปีนัง (อย่าลืมไปซื้ออินเตอร์เน็ตไม่นั้นหลงแน่ๆ) เดินทางเข้าที่พักเสร็จเราก็ได้เดินทางไปที่ Street Art เอาจริงๆมันก็เหมือนย่านเมืองเก่า สงขลาหรือภูเก็ตบ้านเราอยู่นะ ใครชอบถ่ายรูปก็คงถือเป็นที่ที่ต้องไปเลยแหละ :)

ส่วนตัวเรานั้นเดินขาลากก ไม่ค่อยอินมากนัก 555+

18:00 ไปหาอะไรกินกัน มันก็จะเป็นร้านขายอาหารข้างทาง ร้านที่ถ่ายมาถือว่าคนต่อคิวเยอะมาก (อ่ออ แต่เราไม่ได้กิน..)

จบแหละวันแรก

DAY2 วนกันไปในปีนัง

07:00 เราได้วาปมาจากโรงแรมขึ้นมาที่ Penang Hill กัน มีความเปรียบเทียบก็เหมือนขึ้นเขาตังกวนสงขลาอยู่หน่อย แต่ที่นี่เส้นทางขึ้นเขาคือยาวจริง ไม่ขึ้นนี่คงไม่ไหว ด้วยความที่มาเช้าเราจึงได้เห็นบรรยากาศ เมืองนี้ที่มีหมอกอยู่หน่อยๆ

เอาจริงอยู่บนเขานี้ได้ทั้งวันเลยละ มีกิจกรรมเยอะแยะไปหมด

อ่อแต่จากการถามพนักงานเขาบอกว่าเวลาที่ดีที่จะขึ้นเขาไปนั้นคือช่วงกลางคืน มันจะได้เห็นแสงสีของทั้งเมือง ดูจากรูปแล้วก็สวยอยู่

09:00 พอลงเขามาก็ไปที่วัดกันต่อ วัดนี้ชื่อว่า Kek lok si เป็นวัดพุทธที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (พึ่งรู้ก็ตอนไป Search หาชื่อวัดเมื่อกี้นี่เอง) ฟิลลิ่งเหมือนวัดจีนที่สร้างไว้บนเขา นับถือคนสร้างเลย

11:40 ลงจากวัดก็ได้มากินอาหารแถวนั้น เจอร้านเป็ดร้านนึง(อยู่ปากทาง) อร่อยดี ซื้อของฝากก็แถวนี้ เสร็จแล้วก็กลับไปที่พักเอาของที่ซื้อไปเก็บซะก่อน

ถึงตรงนี้เราได้ขึ้นรถเมล์ที่นั่นครั้งแรก ก่อนหน้านี้คือ Grab ล้วนๆ (แต่เอาจริงพอหาร Grab ก็แพงกว่านิดนึงแต่ได้ความสะดวกและลดเวลาไปเยอะ)

15:00 ไปเที่ยวกันต่อคราวนี้กลับไปที่หมู่บ้านชาวประมง เรียกว่า Chew Jetty เป็นประมาณตลาดที่ยื่นไปในทะเล (ในไทยก็มีแต่ไม่แน่ใจว่าที่ไหนเป็นหมู่บ้านชาวประมงประมาณนี้แหละ) และแน่นอนที่ไม่พลาดไปกันคงเป็นสะพานที่ยืนออกไป

จากนั้นเราก็ไปเก็บตก Street Art กันอีกรอบ

18:00 ตกดึกไปดูฝั่งห้างเขากันบ้าง ที่ได้เดินทางไปเป็นห้างคล้าย Paragon อะไรประมาณนั้นแต่ดูจากคนที่เดินแล้ว ค่อนข้างน้อยนะบางตาพอสมควร

สิ่งที่เหมือนกับไทยคือ เจอคนต่อคิวกันที่ร้านชาบูในห้างนี้เยอะมาก

หนีไม่พ้นที่จะไปสำรวจโรงหนังที่นี้หน่อย ดูก็เงียบๆดี

สิ่งที่แปลกตามากกว่าคือร้านหนังสือเขาดูอลังมาก สวยงามสุดๆ

20:00 กลับมากินอะไรคล้ายๆหมี่นี่ละ ก็รสชาติก็โอเคอยู่ แต่ไม่ได้ถ่ายรูปมาให้ดู ตกใจพูดกับคนขายไม่ค่อยเข้าใจ ฮาา

ความ Surpise อย่างที่ 3 ของที่นี้คือเขาหยุดรอสัญญาณไฟข้ามถนนกัน ถึงแม้ว่าไม่มีคนข้ามถ้าไฟไม่เขียว ก็ไม่ไปนะ…

จบแล้ววันที่ 2

DAY3 กลับบ้าน

10:00 เดินทางกลับด้วยตั๋วเรือใบเดิม ฉะนั้นเราไม่ต้องซื้อตั๋วขากลับ

11:40 เดินทางขึ้นรถไฟกลับ

ปรับ Timezone Hour -1


การเดินทางไปที่ไหนไกลๆ พาตัวเองออกมาไปเจอสิ่งที่ไม่เคยเจอมาก่อน เอาจริงๆมันเหนื่อยมาก ไปเที่ยวครั้งหนึ่ง กลับมาที่พักทุกทีพร้อมนอนทุกเมื่อ แต่สิ่งที่นิยามคำว่า พักผ่อน นั่นคงเป็น

การหยุดพัก เก็บทุกอย่างไปชั่วขณะ

นี่แหละสิ่งที่ดีสุดระหว่างการเดินทาง

บลู
บันทึกไม่ลับของบลู
Loading...
thanaporn nuwilai

Thanaporn Nuhwilai Full Stack developer, work of servers, databases, systems engineering, and clients. Depending on the project, what customers need may be a mobile stack or a Web application stack.